วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 12

สงครามเย็น( Cold War )

สงครามเย็น( Cold War ) 

สงครามเย็นหมายถึง การประจันหน้าด้านอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้นำลัทธิเสรีประชาธิปไตยกับสหภาพโซเวียตประเทศ ผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นการปะทะกันทุก ๆ วิถีทาง ยกเว้นด้านการทหาร การขยายอำนาจในสงครามเย็นจึงเป็นลักษณะการแสวงหาพรรคพวกร่วมอุดมการณ์และแข่งขันกันเป็นมหาอำนาจทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ โดยไม่ทำสงครามกันอย่างเปิดเผย แต่เป็นการสนับสนุนให้ประเทศที่เป็นพวกของแต่ละฝ่ายทำสงครามตัวแทน 

สาเหตุของสงครามเย็น 

สหรัฐอเมริกาได้ประกาศวาทะทรูแมน (Trueman Doctrine)ในค.ศ 1947 มีสาระสำคัญว่า ...สหรัฐอเมริกาจะโต้ตอบการคุกคามของประเทศคอมมิวนิสต์ทุกรูปแบบและทุกสถานที่ แล้วแต่สหรัฐจะเห็นสมควร โดยไม่จำกัด ขนาด เวลา และสถานที่ ....จะให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ให้พ้นจากการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือแก่กรีซและตุรกีเป็นตัวอย่าง สืบเนื่องมาจากสหภาพโซเวียตเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ และแทรกแซงให้ความช่วยเหลือกบฎในตุรกีและกรีกเพื่อจัดตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ การประกาศวาทะทรูแมนจึงเป็นจุดเริ่มต้นสงครามเย็นที่แท้จริง ต่อมาสหรัฐได้ประกาศแผนการมาร์แชล(Marshall Plan) เพื่อให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจกับยุโรปตะวันตก

ขณะเดียวกันสหภาพโซเวียตได้ตอบโต้ด้วยการจัดตั้ง องค์การโคมินฟอร์ม ( Cominform ) ใน ค.ศ. 1947 เพื่อขยายลัทธิคอมมิวนิสต์สู่ประเทศต่าง ๆ และสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะในยุโรปตะวันออก ต่อมาได้ซึ่งพัฒนามาเป็นองค์การ โคมินเทอร์น (Comintern)

การเผชิญหน้าทางทหาร ใน ค.ศ. 1949 สหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization ) ประกอบด้วยภาคี 12 ประเทศ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักซัมเบอร์ก สหรัฐอเมริกา แคนาดา เดนมาร์ค ไอซ์แลนด์ อิตาลี นอร์เวย์และเปอร์ตุเกส ต่อมาตุรกีและกรีซ ได้เข้าเป็นสมาชิก และในค.ศ. 1955 เยอรมนีตะวันตกได้เข้าเป็นสมาชิกด้วย

ในค.ศ.1955 สหภาพโซเวียตได้ชักชวนให้ประเทศในยุโรปตะวันออกลงนามในสนธิสัญญาวอร์ซอร์ ( Warsaw Pact)ซึ่งเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางทหาร ประเทศภาคี คือ สหภาพโซเวียต เยอรมนีตะวันออก โปแลนด์ ฮังการี รูมาเนีย บัลกาเรียและเชคโกสโลวาเกีย
วิกฤตการณ์เบอร์ลิน(The Berlin Blockade) ค.ศ.1948 

เบอร์ลินถูกแบ่งเป็น 4 ส่วนแบ่งเขตยึดครองคือ ฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ได้ส่วนยึดครองทางเบอร์ลินตะวันตกและเยอรมนีตะวันตก สหภาพโซเวียตได้เบอร์ลินส่วนตะวันตกและเยอรมนีตะวันตก เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองสหภาพโซเวียตได้ประกาศปิดล้อมเบอร์ลินไม่ให้สัมพันธมิตรเข้าออกเบอร์ลินในวันที่ 19 มิถุนายน 1948 ถึง พฤษภาคม 1949 มิให้มีการติดต่อกับภายนอก เพื่อบังคับให้มหาอำนาจตะวันตกละทิ้งเบอร์ลิน โดยปิดเส้นทางคมนาคมทางบก ทางน้ำ ตัดกระแสไฟฟ้าประเทศสัมพันธมิตรและคณะมนตรีความมั่นคงแก้ปัญหาโดยการใช้เครื่องบินบรรทุกเครื่องอุปโภคบริโภคไปโปรยให้ชาวเบอร์ลินตะวันตกเป็นเวลากว่า 1 ปี เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การแบ่งแยก เยอรมันนีเป็น 2 ประเทศและแบ่งเบอร์ลินเป็น 2 ส่วนอย่างถาวร

การแบ่งเขตยึดครองเบอร์ลินของของมหาอำนาจ 4 ประเทศ สร้างกำแพงยาวกว่า 27 ไมล์
กั้นระหว่างเบอร์ลินในค.ศ.1961 เรียกกำแพงเบอร์ลิน
ในค.ศ.1949 เยอรมนีตะวันตกได้ตั้งเป็นประเทศ ชื่อว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและสหภาพโซเวียตได้ตั้งเขตปกครองของตนในเยอรมนีตะวันออกเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน เมื่อแบ่งประเทศแล้ว ชาวเยอรมนีตะวันออกได้อพยพมาอยู่ในเขตตะวันตกมากขึ้นตลอดเวลา ทำให้รัสเซียต้อง สร้างกำแพงยาวกว่า 27 ไมล์ กั้นระหว่างเบอร์ลินใน ค.ศ.1961 เรียก กำแพงเบอร์ลิน

เครื่องบินสัมพันธมิตรขนส่งอาหารให้กับประชาชนในเบอร์ลินตะวันตก

กำแพงเบอร์ลิน
กำแพงเบอร์ลินสร้างในปี ค.ศ. 1961 แบ่งเบอร์ลินตะวันตกและตะวันออก ออกจากกัน เป็นสัญลักษณ์สำคัญหนึ่งของสงครามเย็น และถูกทำลายไปเมื่อ ค.ศ. 1989 ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1990 โดยมิคาอิล กอบาชอฟ ยินยอมให้เยอรมันทั้งสองตัดสินใจอนาคตตนเอง โดยสหภาพโซเวียตจะไม่เข้าแทรกแซงจึงมีการรวมเยอรมันเป็นประเทศเดียวกันอย่างเป็นทางการ เรียกว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 

เอกสารอ้างอิง

  • คณะกรรมการบริหารวิชาบูรณาการ. มรดกอารยธรรมโลก. กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , 2545.
  • สุปราณี มุขวิชิต.ประวัติศาสตร์ยุโรป.เวียนนา ค.ศ.1815 – เบอร์ลิน 2 นคร.
  • สุวิมล รุ่งเจริญ. อารยธรรมสมัยใหม่-ปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2540.

สัปดาห์ที่ 11

สงครามโลกครั้งที่ 1

แผนที่สงครามโลครั้งที่ 1แสดงการรบในยุโรปและตะวันออกกลาง
สงครามโลกครั้งที่ 1

            เริ่มใน ค.ศ. 1914 สิ้นสุดใน ค.ศ.1918 เป็นความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจ 2 ค่าย คือ ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย – ฮังการี และอิตาลี (ผู้นำสำคัญ คือบิสมาร์ค แห่งเยอรมนี) กับฝ่าย ประกอบด้วย Triple Entente ได้แก่ บริเตนใหญ่ ( อังกฤษ ) ฝรั่งเศส และรัสเซีย การรบเริ่มขึ้นหลังการลอบสังหารมกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย – ฮังการี และสิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของมหาอำนาจกลาง หรือ Triple Alliance มีการทำสนธิสัญญาแวร์ซายส์ บังคับให้เยอรมนีและพันธมิตรเสียค่าปฏิกรรมสงครามชดใช้จำนวนมหาศาลและเสียดินแดนที่เป็นอาณานิคมให้แก่ฝ่าย Triple Entente

สาเหตุสงครามโลกครั้งที่ 1 


ลัทธิชาตินิยม

 
การเกิดลัทธิชาตินิยมจากคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ทำให้เกิดระบบรวมรัฐชาติ สร้างระบบรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง รัฐชาติในประเทศยุโรปต่างแสวงหาความเป็นมหาอำนาจ ทั้งทางทหารและเศรษฐกิจ รัฐชาติหมายถึง รัฐหรือประเทศที่ประชาชนมีความรู้สึกผูกพันกัน มีความสามัคคี ภาคภูมิใจในความเป็นชาติ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ความรักชาติที่รุนแรงจนเป็นลัทธิชาตินิยม ทำให้เชื่อว่าชาติตนเหนือกว่าชาติอื่น ผลักดันชาติของตนได้เปรียบชาติอื่นไม่ว่าด้านเศรษฐกิจ หรือการทหาร นำไปสู่การแข่งขันอำนาจกัน จนกลายเป็นสงคราม เช่น สงครามการรวมอิตาลี การรวมเยอรมนี จนถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 

ลัทธิจักรวรรดินิยม 

ลัทธิชาตินิยมนำไปสู่ลัทธิจักรวรรดินิยม ลัทธิจักรวรรดินิยม หมายถึงประเทศที่พัฒนา แล้วประสบความสำเร็จด้านเศรษฐกิจ การทหาร และวิทยาศาสตร์ เข้าครอบครอง ที่ด้อยพัฒนากว่า ลัทธิจักรวรรดินิยมเริ่มจากปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ต้องการวัตถุดิบและตลาด มหาอำนาจยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ปรัสเซีย ( เยอรมนี) เนเธอร์แลนด์ ต่างแข่งขันกันขยายอำนาจในการครอบครองดินแดนในทวีปเอเชียอเมริกากลางและอัฟริกาโดยครอบงำทาวัฒนธรรม และวิถีชีวิต เป็นแหล่งเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้เมืองแม่ 

การแบ่งกลุ่มพันธมิตรยุโรป 

นโยบายการรวมกลุ่มที่มีผลประโยชน์ตรงกัน เริ่มต้นใน ค.ศ. 1907 เมื่อ เยอรมัน และออสเตรีย-ฮังการีลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรไตรมิตร (Triple Alliance )ประจันหน้ากับรุสเซีย เนื่องจากเยอรมนี ต้องการไม่ให้รัสเซียเป็นใหญ่ในชนเผ่าสลาฟแหลมสมุทรบอลข่าน ต่อมามีอิตาลีมาร่วมประเทศ เพราะไม่พอใจฝรั่งเศสที่แย่งครอบครองตูนิเซีย ในฐานะรัฐในอารักขา ฝ่ายออสเตรีย – ฮังการีซึ่งต้องการเป็นใหญ่ในแหลมบอลข่านเช่นกัน โดยได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนี อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียลงนามในสนธิสัญญาสันธไมตรีไตรมิตร (Triple Entente ) ค.ศ. 1907และเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นด้วย 

ความขัดแย้งเรื่องแหลมบอลข่าน 

สาเหตุสำคัญเกิดจากการที่ออสเตรีย – ฮังการีขัดแย้งกับเซอร์เบีย เรื่องการสร้างเขตอิทธิพลในแหลมบอลข่าน เยอรมนีสนับสนุนออสเตรีย – ฮังการี ขณะที่รัสเซียสนับสนุนเซอร์เบีย ความขัดแย้งขยายความรุนแรงเป็นสงครามระหว่างรัฐในแหลมบอลข่าน มหาอำนาจจึงมีโอกาสแทรกแซงและตั้งกลุ่มพันธมิตร 

จุดระเบิดของสงครามโลกครั้งที่ 1 มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการีคือ อาร์ค ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ กับพระชายาโซเฟีย ถูกลอบปลงพระชนม์ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ.1914ที่เมืองซาราเจโว ขณะเสด็จเยือนเมืองหลวงของบอสเนีย โดยคนร้ายชื่อ กาฟริโล ปรินซิพ นักศึกษาชาวบอสเนียสัญชาติเซอร์เบีย ออสเตรียเรียกร้องให้เซอร์เบียปฏิบัติตามข้อเรียกร้อง เซอร์เบียปฏิเสธออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย 28 กรกฎาคม 1914 รัสเซียแสดงตนว่าเป็นผู้พิทักษ์เผ่าสลาฟจึงระดมพล เยอรมนีประกาศสงครามกับฝรั่งเศสและรัสเซีย ต่อมาอังกฤษเข้าสู่สงครามเมื่อเยอรมนีบุกเบลเยียม และญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามต่อเยอรมนี เพราะมุ่งหวังในอาณานิคมของเยอรมนีในจีน 

ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 

            1. การสถาปนาองค์การสันนิบาตชาติ แต่มีจุดอ่อนในการรักษาสันติภาพ เพราะรัสเซีย ถอนตัวและสหรัฐอเมริกาไม่เข้าเป็นสมาชิก ทั้งยังไม่มีกองทหารรักษาสันติภาพด้วย 

            2. เกิดสนธิสัญญาสันติภาพที่ประเทศผู้ชนะร่างขึ้นมี 5 ฉบับ 

- สนธิสัญญาแวร์ซายส์ทำกับเยอรมนี เยอรมนีต้องเสียค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาลและเสียดินแดนหลายแห่ง ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลก ราคาสินค้าตกต่ำ ในเยอรมนีไม่สามารถใช้หนี้สงครามได้และมองสนธิสัญญานี้ว่าไม่เป็นธรรม จนฮิตเลอร์นำมาประณามเมื่อเริ่มมีอำนาจ 

- สนธิสัญญาแซงต์ แยร์แมงทำกับออสเตรีย 
- สนธิสัญญาเนยยี ทำกับบัลแกเรีย 
- สนธิสัญญาตริอานองทำกับฮังการี 
- สนธิสัญญาแซฟส์ทำกับตุรกี ต่อมาเกิดการปฏิวัติในตุรกีจึงมีการทำสนธิสัญญาใหม่เรียกว่าสนธิสัญญาโลซานน์ 

            3. ความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น และความยากจนต่อเนื่องจากก่อนสงคราม นำไปสู่การที่เลนิน ปฏิวัติเปลี่ยนประเทศรัสเซียเป็นคอมมิวนิสต์ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 1 

            4. ในยุโรปมีรูปแบบของรัฐเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้แก่รัสเซีย เลนินปฏิวัตินำระบบคอมมิวนิสต์มาปกครองรัสเซียใน ค.ศ. 1917 และในค.ศ. 1924 -1953 สตาลินได้ใช้ระบบเผด็จการที่เน้นการปราบศัตรูทางการเมืองและการผูกขาดอำนาจด้วยความรุนแรงมากขึ้น ส่วนในเยอรมนี ฮิตเลอร์ได้เป็นผู้นำ ใช้ระบบเผด็จการโดยอำนาจพรรคนาซี ตั้งแต่ ค.ศ.1933 และในอิตาลี มุสโสลินีได้ตั้งพรรคฟาสซิสต์ขึ้นในเวลาต่อมา 

            5. เกิดประเทศใหม่ 7 ประเทศเนื่องมาจากการแยกดินแดนได้แก่ ฮังการี ยูโกสลาเวีย โปแลนด์ เชคโกสโลวาเกีย ลิทัวเนีย แลตเวีย แอสโตเนีย

สัปดาห์ที่ 10

อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตก

อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตก

            วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย การติดต่อกับชาวต่างชาติของคนไทยในยุคสมัยต่างๆ มีผลต่อสังคมไทยหลายด้าน วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย 
            โดยวัฒนธรรมบางอย่างได้ถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิมของคนไทย  ขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างรับมาใช้โดยตรง

            1.  วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทย มีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคนไทย  เช่น สุโขทัย ล้านนา ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย จีน เปอร์เซีย เพื่อนบ้าน เช่น เขมร มอญ พม่า โดยผ่านการติดต่อค้าขาย การรับราชการของชาวต่างชาติ การทูต และการทำสงคราม
            สำหรับตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้
1.  ด้านอักษรศาสตร์  เช่น  ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม  รับภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤตจากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา  ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  จากอินเดีย  เขมร  นอกจากนี้  ในปัจจุบันภาษาจีน  ญี่ปุ่น  เกาหลี  ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น

2.  ด้านกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย  ได้แก่  คัมภีร์พระธรรมศาสตร์  โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง  และกลายเป็นหลักของกฎหมายไทยสมัยอยุธยาและใช้มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

3.  ด้านศาสนา  พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว  ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ  เช่น  ทวารวดี  หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา  หรือสุโขทัย  รับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักรอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยตลอดมา  นอกจากนี้  คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่  รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา

4.  ด้านวรรณกรรม  ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์  มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย  เรื่องอิเหนาจากชวา  ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน  เช่น  สามก๊ก  ไซอิ๋ว  วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น  ราชาธิราชของชาวมอญ  อาหรับราตรีของเปอร์เซีย  เป็นต้น

5.  ด้านศิลปวิทยาการ  เช่น เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย  ศรีลังกา

6.  ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต เช่น คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง เครื่องเทศจากอินเดีย  รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด การใช้กะทะ การใช้น้ำมันจากจีน  ในด้านการแต่งกาย คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย  เป็นต้น

            2.  วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร สถาปัตยกรรม ศิลปวิทยาการ ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 3  เป็นต้นมา คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น  ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน

            ดัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
1.  ด้านการทหาร  เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา  โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้  มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก  เช่น  ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส  ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการทหาร  มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย  การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก

2.  ด้ารการศึกษา  ในสมัยรัชกาลที่ 3  มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง  เช่น  พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก  ในสมัยรัชกาลที่ 4  ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก
ในสมัยรัชการลที่ 5  มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่  ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่  ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น  โรงเรียนแพทย์  โรงเรียนกฎหมาย  ในสมัยรัชกาลที่ 6  มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 3.  ด้านวิทยาการ  เช่น  ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง  ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่  ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3  ในสมัยรัชกาลที่ 5  มีการจัดตั้งโรงพยาบาล  โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล  ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน 
 ด้านการพิมพ์  เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387  ชื่อ  “บางกอกรีคอร์เดอร์”  การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น  ในด้านการสื่อสารคมนาคม  เช่น  การสร้างถนน  สะพาน  โทรทัศน์ โทรศัพท์  กล้องถ่ายรูป  รถยนต์  รถไฟฟ้า  เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น  ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก

4.  ด้านแนวคิดแบบตะวันตก  การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง  เช่น  ประชาธิปไตย  คอมมิวนิสต์  สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย  และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง  นอกจากนี้  วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว  และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย  เช่น  การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย  เช่น  งานเขียนของดอกไม้สด  ศรีบูรพา

 5.  ด้านวิถีการดำเนินชีวิต  การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้  ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป  เช่น  การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ  การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น  การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก  การปลูกสร้างพระราชวัง  อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก  ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก  เช่น  ฟุตบอล  กอล์ฟ  เข้ามาเผยแพร่  เป็นต้น

สัปดาห์ที่ 9

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ทวีปอเมริกาใต้

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ทวีปอเมริกาใต้

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

            การตั้งถิ่นฐานของชนพื้นเมืองก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ายึดครอง เชื่อกันว่าชาวอินเดียนแดงได้อพยพมาจากทวีปเอเชีย 
            โดยเดินทางข้ามช่องแคบเบริ่ง เร่ร่อนจากทวีปอเมริกาเหนือลงสู่ ทวีปอเมริกาใต้ และมาตั้งหลักแหล่งอย่างมั่นคงบริเวณเทือกเขาแอนดีส 
            มีหลักฐานที่เด่นชัดคือซากเมือง มาชู ปิกชู Machu Piachu ของอาณาจักรอินคา บริเวณประเทศเปรู 
            นับตั้งแต่เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานยุคแรกเมื่อ 20,000 ปีที่ผ่านมา มนุษย์ดำรงชีพด้วยการเก็บเกี่ยวจากธรรมชาติ ล่าสัตว์ เก็บของป่ากิน 
            จนถึงยุคการปลูกพืชพรรณและเลี้ยงสัตว์ กลายเป็นการวางรากฐานด้านเกษตรกรรมอย่างเป็นระบบ 
            รวมทั้งการก่อตั้งหมุ่บ้านและสถานที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ตามความเชื่อของมนุษย์ในสมัยนั้น 
            เมื่อ 8,000 ปีก่อนคริสตศักราช ดินแดนอันกว้างใหญ่ของทวีปอเมริกาใต้ สามารถเพาะปลูกพืชได้หลายชนิด ตามลักษณะภูมิอากาศ เช่น มันฝรั่ง ฮอลลูโก กวีนัว กีวีชา ฟักทอง ฝ้ายพริก ข้าวโพด ฯลฯ
            ในยุคเปรูโบราณ ลามา อัลปาก้า และวิกูญา เป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์ สัตว์เหล่านี้ให้เส้นใยสำหรับเสื้อผ้าอันอบอุ่น เนื้อสัตว์สำหรับประกอบอาหาร หนังและกระดูกสำหรับทำเครื่องมือต่าง ๆ หยดน้ำมันสำหรับให้ความร้อนและพลังงาน และทำให้ผู้คนขนส่งสินค้าไปในระยะไกล ๆ ได้ 
            เมื่อ 7,000 ปีก่อนคริสตศักราช สัตว์เหล่านี้ทำให้คนสามารถอยู่อาศัยในพื้นที่เปราะบางที่สุดของเทือกเขาแอนดีส ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 4,200 เมตร 
            ที่ซึ่งยากแก่การทำสวนไร่นาและชีวิตความเป็นอยู่ขึ้นกับการเคลื่อนที่ไปมา ทำให้เข้าถึงระบบนิเวศวิทยาที่หลากหลาย พร้อมทั้งแหล่งทรัพยากรทางเศรษฐศาสตร์ที่เติมให้สมบูรณ์ 
            ขณะที่วัฒนธรรมภาคพื้นค่อยๆ รวมตัวเข้าด้วยกัน เทคนิคใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นมา เช่น การทอเส้นใย การทำโลหะผสมและการทำอัญมณี ทำให้วัฒนธรรมระดับสูงเกิดขึ้น เช่น
ชาแวง ( 1,000 ปีก่อนคริสตศักราช ) ,
พารากัส ( 700 ปีก่อนคริสตศักราช ) ,
โมช ( 100 ปีหลังคริสตศักราช ),
นาซก้า ( 300 ปีหลังคริสตศักราช ),
วารี ( 600 ปีหลังคริสศักราช ),
ชิมู ( 700 ปีหลังคริสตศักราช ),
ชาชาโปยาส ( 800 ปีหลังคริสตศักราช )
และอาณาจักรอินคา 1,500 ปีหลังคริสตศักราช
            ชาวอินคาบูชาเทพเจ้าแห่งผืนดินปาชามามาและเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์อินติ อำนาจอธิปไตยของชาวอินคาคือ ผู้นำสูงสุดของทาวันทินซูยู (อาณาจักรอินคา) เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิ่งซึ่งได้รับตกทอดมาจากอินติ 

            ในยุคที่เฟื่องฟูสูงสุดชาวอินคาได้สร้างงานทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมที่น่าประทับใจ ตัวอย่างที่สำคัญที่สุดที่สามารถพบเห็นได้ในปัจจุบันนี้คือซากเมืองคุชโก เมืองหลวงของอาณาจักรอินคาแห่งนี้และพื้นที่รอบ ๆ เช่น ป้อมซัคเซย์วาแมน และป้อมมาชูปิกชู
            เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส Christopher Columbus ชาวอิตาเลียน เดินทางสำรวจพบทวีปอเมริกา ใน ค.ศ. 1492 แล้ว ชาวยุโรปก็สนใจที่จะแล่นเรือมาทางทิศตะวันตกเพิ่มมากขึ้น 
            ในปี ค.ศ. 1499 นักเดินเรือชาวอิตาลียน ชื่อ อเมริโก เวสปุกชี Americo Vespucci เดินทางสำรวจให้กับสเปน ได้แล่นเรือสำรวจชายฝั่งประเทศเวเนสุเอลา ทะเลสาบมาราไคโบ 
            พบเห็นบ้านเรือนของชนพื้นเมืองก่อตั้งอยู่ริมน้ำ คล้ายหมู่บ้านของชาวเวนิส จึงเรียกดินแดนที่เขาพบนี้ว่า เวเนสุเอลา ซึ่งหมายถึง เวนิสน้อย 

            ในปี ค.ศ. 1500 นักเดินเรือชาวโปรตุเกส ชื่อ เปโดร อัลวาเรส คาบรัล Pedro Alvares Cabral ได้แล่นเรือสำรวจชายฝั่งทางด้านตะวันออกของประเทศบราซิล 
            หลังจากนั้นชาวโปรตุเกสก็เข้ายึดครองทางด้านตะวันออกของทวีป ส่วนสเปนก็เข้าสำรวจทางด้านตะวันตกจากภาคเหนือสู่ภาคใต้ ซึ่งในที่สุดได้นำไปสู่การก่อตั้งอาณานิคมของชาวสเปนหลายแห่ง

            เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1492 โคลัมบัสได้รับการแต่งตั้งจาก พระนางเจ้าอีสเบลลา แห่งสเปน ให้เป็นผู้สำเร็จราชการครอบครองหมู่เกาะอินดิสตะวันตก
ค.ศ. 1519 เฮอร์นาน คอร์เตส Hernan Cortes ได้พิชิตอาณาจักรแอชเต็ก ในเม็กซิโก
            ค.ศ. 1531 ฟรานซีสโก ปิซาโร Francisco Pizarro เข้าสำรวจพบอาณาจักรอินคา และทำสงครามกับชาวอินคา นาน 5 ปีสามารถปราบอาณาจักรอินคาได้
            ค.ศ. 1541 เปโดร เดอ วัลดิเวีย Pedro de Valdivia นำทหารสเปนเข้าครอบครอง ดินแดนชิลีได้สำเร็จ

            ดินแดนส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ตกเป็นอาณานิคมของสเปนและโปรตุเกส ยกเว้น 
กายอานาและฟอร์กแลนด์ เป็นของสหราชอาณาจักร
เฟรนซ์กิอานา เป็นของฝรั่งเศส
สุรินาเม เป็นของเนเธอร์แลนด์

การประกาศเอกราชของประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้

            ด้วยเหตุที่อาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือได้ประกาศเอกราช ตั้งเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา 
            จึงเป็นตัวอย่างที่ชาวอาณานิคมในทวีปอเมริกาใต้ต้องการเอกราช โดยเริ่มจากชาวอาณานิคมในเมืองคารากัส ได้ก่อการกบฏขึ้นในปี ค.ศ. 1810 ขับไล่แม่ทัพของสเปน ออกไป และตั้งคณะกรรมการขึ้นปกครองตนเอง 
            โดยมีผู้นำในอาณานิคมหลายคน ที่ต้องการปลดปล่อยอาณานิคมในทวีปอเมริกาใต้ให้เป็นอิสระ เช่น
            ในปี ค.ศ. 1818 โฮเซ เดอ ซาน มาร์ติน Jose de San Martin เป็นผู้นำในการปลดปล่อย ในอาร์เจนตินาและชิลี ให้เป็นเอกราช
            ในปี ค.ศ. 1821 ซิมอน โบลิวาร์ Simon Bolivar เป็นผู้นำในการปลดปล่อย เอกวาดอร์ และเวเนสุเอลา ได้สำเร็จ
            ในปี ค.ศ. 1822 โอรสของกษัตริย์แห่งโปรตุเกส ก็ประกาศบราซิลให้เป็นเอกราช โดยมีพระองค์เป็นปฐมกษัตริย์ ค.ศ. 1889 ทหารเข้ายึดอำนาจล้มระบอบกษัตริย์เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ